โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ

 

ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในประเทศไทย (จำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ) ออกวางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 โดยนายกำพล วัชรพล เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้ากองบรรณาธิการคนแรก

     เดิมใช้ชื่อว่า ข่าวภาพ รายสัปดาห์, รายสามวัน และรายวัน [1] (9 มกราคม 2493-20 ตุลาคม 2501) และ “เสียงอ่างทอง รายวัน [2] (1 พฤษภาคม 2502-24 ธันวาคม 2505)

     ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ, และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ

ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่ 1 ข่าวภาพ .......ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  ยุคที่ 1 ข่าวภาพ (พ.ศ. 2493 - 2501) ยุคที่ 1        หนังสือพิมพ์เช้าวันจันทร์ ข่าวภาพ ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า THEWEEKLY PICTORIAL พิมพ์ด้วยหัวหนังสือสีแดง วางแผงฉบับปฐมฤกษ์ สัปดาห์ที่ 1 ประจำวันจันทร์ที่ 9 มกราคม พุทธศักราช 2493 รวมทั้งสิ้น 16 หน้า ราคา 1 บาท พาดหัวข่าวตัวโตสะดุดตาว่า "ตายโหง 5 ศพ ในวันขึ้นปีใหม่" พร้อมข่าวและภาพอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข่าวคราว ของชาวบ้านทั่วไป ข่าวสังคม ไม่ได้เน้นข่าว การเมืองเหมือนอย่างรายสัปดาห์ฉบับอื่น ในขณะนั้นนิยมกัน  ........ทำให้หนังสือพิมพ์ 3,000 ฉบับ ที่ออกวางจำหน่ายในงวดนั้นเหลือกลับมาเพียง 7 ฉบับ ข่าวที่ขึ้นหน้า 1 ในวันนั้นมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ ตายโหง 5 ศพ ในวันขึ้นปีใหม่ รถคว่ำพลิกท้อง ศพเรียงเป็นตับบาดเจ็บอีก 7 คน "ไล่สาวสวยออกจากงานสิ้น" ผู้อำนวยการ อจส.ว่าพนักงานสาวๆ ล้นงาน ที่เซ็นสั่งปลดเพราะไม่รู้ว่าสวยหรือไม่สวย การทำงานของ "ข่าวภาพรายสัปดาห์"  ........ในยุคนั้นมีการแบ่งงานให้ เลิศ อัศเวศน์ ซึ่งรับหน้าที่บรรณาธิการ เป็น คนเขียน กำพล วัชรพล เป็นคนพิมพ์และคนขาย ส่วน วสันต์ ชูสกุล เป็น ผู้จัดการเรื่องการเงิน เพราะมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ว่าจะขายหนังสือพิมพ์ให้แก่ กลุ่มวัยรุ่นคนหนุ่มสาว และบรรดาชาวบ้านทั่วไป ไม่ขายข่าวหนักอย่างพวก หนังสือการเมืองซึ่งตอนนั้น นิตยสารรายสัปดาห์มีอยู่ 7-8 ฉบับ ล้วนแล้วแต่เป็นการเมืองทั้งหมด จึงเป็นจุดที่แตกต่าง กว่าฉบับอื่น หรืออาจเรียกได้ว่า มีช่องว่างทางการตลาดที่จะให้ "ข่าวภาพ" ได้หายใจหายคอได้บ้าง ........การเกิดขึ้นของ "ข่าวภาพ" ในครั้งกระโน้นเป็นเพียงแค่หนังสือพิมพ์เล็ก ๆ ฉบับหนึ่ง ผลพวงของความพยายาม ย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จ หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ เริ่มขายได้ และเริ่มมีคนกล่าวขวัญถึงพอสมควร ในแวดวงนักอ่านหนังสือพิมพ์ กำพล วัชรพล เริ่มมองไกลไปอีกขั้น ตามวิสัยของคนที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เขาเริ่มคิดถึง การออกหนังสือเป็นราย 3 วัน แทนที่จะเตาะแตะอยู่กับการออกเป็นราย 7 วันเมื่อ พิมพ์ได้ 7 วัน ขายได้พิมพ์ 3 วัน ก็น่าจะขายได้ อันจะเป็นผลให้บริษัทได้เงินเร็วขึ้น และมากขึ้น กำพลคิดแล้วก็ตัดสินใจทำทันทีเงิน 6,000 บาท ที่ได้จากการพิมพ์ พ็อกเกตบุ๊กขายเมื่อครั้งกระโน้น และกลายมาเป็นเชื้อในการทำหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ  ........เพียงชั่วระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษๆ หนังสือพิมพ์ข่าวภาพรายสัปดาห์ ก็สามารถ ปรับมาเป็นหนังสือพิมพ์ราย 3 วัน ได้อย่างไม่น่าเชื่อ 1 ปีหลังจากนั้นคือ ในราวกลางปี 2495 ข่าวภาพ หนังสือข่าวรายสามวันก็ปรับตัว  ........อีกครั้งโดยเปลี่ยนเป็นรายวัน มี "อุทธรณ์ พลกุล" จากหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย เป็นบรรณาธิการ จนกระทั่งเมื่อจอมพลสฤษดิ์เข้ายึดอำนาจอย่างเด็ดขาด ในเวลาต่อมา หนังสือพิมพ์ 7 ฉบับถูกปิดพร้อมกัน ในจำนวนนี้ มี ข่าวภาพรายวัน รวมอยู่ด้วย   

 

 

ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่ 2 เสียงอ่างทอง

      ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่เสียงอ่างทอง (พ.ศ. 2502-2505)       "นับแต่ข่าวภาพรายวันถูกปิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 กำพล วัชรพล ได้พยายามวิ่งเต้น อย่างสุดชีวิต เพื่อจะออก หนังสือพิมพ์ใหม่สักฉบับเป็นการทดแทน แต่จากนโยบาย "หนังสือพิมพ์เก่าออกไม่ได้ หนังสือพิมพ์ใหม่อย่าให้เกิด" ของคณะปฏิวัติทำให้เขา จนปัญญาเพราะไม่สามารถจะขอหัว หนังสือใหม่ได้เลยจึงตัดสินใจเช่าหัวหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" มาทดแทน "ข่าวภาพรายวัน" ที่ถูกปิดไปโดยเงื้อมมือของเผด็จการ

      กำพล วัชรพล และคณะ เลือกวันที่ 1 พฤษภาคม 2502 เป็นวันดีเดย์ และมอบให้ วิมล พลกุล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ พร้อมด้วยทีมงานเดิมจากข่าวภาพรายวันทั้งชุด "อยากเห็นภาพ อยากทราบข่าว ต้องอ่าน "เสียงอ่างทอง" หนังสือพิมพ์เช้าประจำครอบครัว" คือสโลแกนของหนังสือพิมพ์น้องใหม่ที่ถือกำเนิดในภูธร แต่เข้ามาโลดแล่นในนครบาล เพราะช่องโหว่ ของกฎหมายฉบับนี้

      "เสียงอ่างทอง" วางจำหน่ายฉบับละ 50 สตางค์ มี 10 หน้า ราคาจึงถูกกว่าฉบับอื่นๆ ที่มีเพียง 8 หน้า แต่สนนราคาเท่ากัน

       ข่าว "ฆาตกรรมนวลฉวี" ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน2502เป็นข่าวพิศวาสฆาตกรรม ที่ส่งให้ชื่อเสียงของหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นทั้งข่าวอาชญากรร อันโดดเด่น และข่าวการเมืองที่มีลักษณะ ไม่เหมือนใครเพราะมิได้เชียร์รัฐบาลนี่เอง ได้ส่งผลให้ยอดจำหน่ายของเสียงอ่าง ทองรายวันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับภายในฉบับ ยังมีคอลัมน์ต่างๆ รวมทั้งคอลัมน์ข่าวสังคมเขียนโดย "กะแช่" อันเป็นเอกลักษณ์ของทีม งานชุดนี้มาตั้งแต่ข่าวภาพรายวันเสียงอ่างทองเริ่ม จำหน่ายได้มากขึ้นตามลำดับ จนล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม2503ยอดจำหน่าย ของเสียงอ่างทองได้พุ่งขึ้นไปถึง 45,000 ฉบับ ซึ่งถือว่าเป็นยอด จำหน่ายที่ค่อนข้างสูงมากในยุคนั้น การริเริ่มส่งหนังสือเองในยุคเสียงอ่างทอง ถือเป็นการปฏิวัติระบบจำหน่ายหนังสือพิมพ์ครั้งยิ่งใหญ่ เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมา โรงพิมพ์ต่างๆ ก็หันมาใช้วิธีส่งเองเป็นหลัก โดยใช้รถยนต์ขนส่งไปทั่วประเทศ เพื่อความไม่ประมาท กำพล วัชรพล ก็ได้จัดซื้อหัวหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" ไว้อีกฉบับหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับเวลาฉุกเฉิน ขณะเดียวกันผลมาจากการที่ยอดขาเพิ่มสูงขึ้นเพราะ ระบบตีด่วน ก็ทำให้กำพลได้ตัดสินใจมาลงหลักตั้งสำนักงานโรงพิมพ์ของตัวเองที่ซอยวรพงษ์ เซ้งแท่นพิมพ์ระบบโรตารี่ มา 2 แท่น เพื่อสนองการขยายตัวของกิจการ

       กำพล จัดเตรียมหัวหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" ไว้สำหรับภาวะฉุกเฉินทางการเมือง ที่อาจจะเกิดขึ้น อันหมายถึงว่า หาก "เสียงอ่างทอง" ถูกปิดอีก จะได้มีหนังสือใหม่สวมต่อทันที ........ แต่ยังไม่ทันเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ก็พลันเกิดอุบัติเหตุทางธุรกิจขึ้นเสียก่อน เมื่อเจ้าของหัวเดิม "เสียงอ่างทอง" ดึงหนังสือกลับไปทำเอง ........ 25 ธันวาคม 2505 หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งซึ่งล้อมกรอบตัวโตๆ ว่า "ไทยรัฐ จัดทำโดยกองบรรณาธิการ เสียงอ่างทองชุดเดิม" ก็ออกวางจำหน่ายตามแผงต่างๆ ทั่วประเทศ

                 

ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่ 3 ไทยรัฐ         ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่ 3 ไทยรัฐ (ซอยวรพงษ์ 2505-2513)         จากการเตรียมแผนที่ดี และการออกแถลงการณ์พร้อมทั้งพาดหัวล้อมกรอบให้เห็น ชัดว่า เสียงอ่างทอง คือ ไทยรัฐ และ ไทยรัฐ ก็คือ เสียงอ่างทอง ทำให้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สามารถผงาดอยู่บนแผงแทบจะทันทีทันควันเมื่อวางตลาด

........ไทยรัฐยุคซอยวรพงษ์ เริ่มรวบรวมทีมงานนักข่าวและ คอลัมนิสต์มาไว้ใน กองบรรณาธิการมากหน้าหลายตา นอกจากคนเก่า คนแก่อย่าง เลิศ อัศเวศน์ แล้ว ก็ยังมีคนรุ่นหนุ่ม อย่าง กะแช่ (ประสาน มีเฟื่องศาสตร์) สมิต มานัสฤดี, วิมล พลกุล, สมบูรณ์ วรพงษ์ , มานิจ สุขสมจิตร, เฉลิมชัย ทรงสุข ฯลฯ

........ จากการบุกตลาดอย่างหนักควบคู่ไปกับการเสนอข่าวและคอลัมน์ที่ถูกใจคนอ่าน ส่งผลให้ไทยรัฐยุคซอยวรพงษ์มียอดจำหน่ายสูงถึง 6 หลัก หรือ 100,000 ฉบับ ในเวลาไม่นานนัก ในขณะที่เสียงอ่างทองซึ่งเจ้าของเดิมเอากลับไปทำเอง ต้องเลิก กิจการไปอย่างรวดเร็ว

........ แม้ไทยรัฐยุคนั้น ซึ่งพิมพ์ทั้งหมด 16 หน้า ราคา 1 บาท จะขายเป็น แสนฉบับแล้ว แต่ยังใช้การพิมพ์ด้วยระบบ Letter Press หรือที่เรียกว่า ระบบหลอมตัวตะกั่ว โรงพิมพ์ในซอยวรพงษ์แคบเกินไปและยากที่จะขยายเพื่อ รองรับแท่นใหม่ๆ ที่เขาเตรียมจัดซื้อสำหรับรองรับความเจริญเติบโตที่กำลัง คืบคลานเข้ามา

........ ประมาณปี 2510-2511 ถนนกรุงเทพฯ-สระบุรี ช่วงดินแดง-ดอนเมือง ซึ่งต่อมาเรียกว่าถนนซูเปอร์ไฮเวย์เพิ่งตัดใหม่ ยังเป็นทางดินลูกรังสีแดง มีแต่ท้องทุ่งนาเวิ้งว้างออกไป 2 ข้างทาง ไม่มีวี่แววเลยว่าจะกลายเป็นถนน สายสำคัญของกรุงเทพมหานครไปได้ แต่กลับเป็นพื้นที่ที่กำพลหมายตาสำหรับ เป็นสถานที่สร้างโรงพิมพ์ใหม่

........ 18 มีนาคม 2512 ได้ฤกษ์งามยามดีสำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ 3 ชั้น เป็นอาคารแรกที่ผุดขึ้นตระหง่านริมถนนซูเปอร์ไฮเวย์

........13 พฤศจิกายน 2513 กำพล วัชรพล ย้ายสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจาก ซอยวรพงษ์ มาอยู่ที่แห่งใหม่ โดยจดทะเบียนเลขที่บ้านเอาไว้กับ ทางเขตบางเขน ที่ดูแลพื้นที่แถบนี้ เป็นรายแรกส่งผลให้สำนักงานหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ได้ เลขที่ 1

                                                                       

ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่ 4 ไทยรัฐ

         ประวัติความเป็นมาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยุคที่ 4 ไทยรัฐ (วิภาวดีฯ 2513-2531)

........ กล่าวได้ว่าการตัดสินใจย้ายสำนักงาน จากซอยวรพงษ์ สู่ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อปลายปี 2513 เป็นการตัดสินใจ ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของกำพล วัชรพล เป็นการตัดสินใจเพื่อที่จะก้าวเดินออกไปข้าง หน้าสู่ความสำเร็จสู่เกียรติยศและสู่ความเป็น หนึ่งในฐานะหนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูง สุดของประเทศ

........ แต่กระนั้นในช่วงแรกๆ ของการย้ายสำนักงานมาสู่ถนนหลักของเมืองหลวงสายนี้ ก็ยังมีเหตุการณ์ที่ชวนให้ตื่นเต้นและ มีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตการต่อสู้ของเขา หลายต่อหลายครั้ง

........ เริ่มจากปี 2514 หรือเพียงปีเดียวจากการโยกย้ายถิ่นฐานสู่ถนนวิภาวดีฯ กำพล วัชรพล ก็มีเหตุที่จะต้องถูกจับกุมตัวในฐานะผู้ต้องหาของบุคคลระดับรัฐมนตรี

........ "จับ 3 หนังสือพิมพ์ใหญ่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ หมิ่น รมต.ถนัด" บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทั้งสามฉบับถูกข้อหา รวมทั้งกะแช่ เรือใบ และนพพร

........ โชคดีที่เหตุการณ์จบลงด้วยชัยชนะเป็นของนักหนังสือพิมพ์ โดยไม่มีใครต้อง ติดคุกและไม่มีหนังสือพิมพ์ฉบับใดถูกปิด

........ ต่อมาวันหนึ่งในราวปี 2515 พนักงานในกองต่างๆ มาทำงานกันตามปกติ ไม่ว่า นักข่าว ช่างพิมพ์ ช่างแท่น คนรถ มาทำงานเหมือนดั่งว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หากแต่ภายใน กลุ่มคนบางกลุ่มที่บอกข่าวกันต่อๆ ไปเท่านั้นที่รู้ว่า บางสิ่งบางอย่าง กำลังจะเกิดขึ้น

........อย่างไม่คาดคิดมาก่อน พนักงานจากหลายกอง หลายแผนก พากันลาออก ไปเป็นจำนวนที่น่าตกใจ เป็นการวางแผนจะล้มไทยรัฐ ให้พังครืนไปใน ชั่วข้ามคืนนั้น

........ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างก็คลี่คลายไปในทางที่ดี ส่งผลให้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เติบโตขึ้น จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่แท้จริงของวงการหนังสือพิมพ์

........ บันทึกเหตุการณ์ในห้วงดังกล่าว จึงมีแต่ความสำเร็จและความก้าวหน้า อันเป็นผลจากการ ตัดสินใจ การริเริ่มของกำพล วัชรพล ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

........ เริ่มจากเรื่องราวด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ ซึ่งกำพลเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง อย่างเด็ดเดี่ยว ในการติดตั้งเครื่องพิมพ์ระบบ Web Offset ยี่ห้อ Hamada รุ่น AOR ของญี่ปุ่น สำหรับโรงพิมพ์ใหม่ถนนวิภาวดี

........ ต่อมาในเดือนมิถุนายน ปี 2519 กำพล วัชรพล อนุมัติตามข้อเสนอของ ทองเติม เสมรสุต หัวหน้ากองการผลิตยุคนั้น ให้เปลี่ยนระบบการเรียงพิมพ์ด้วยตัวตะกั่ว มาเป็นระบบเรียงพิมพ์ ด้วยแสง ที่เรียกกันว่าคอมพิวกราฟิก หรือการเรียงพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความชัดเจนและ รวดเร็วกว่าในระบบดั้งเดิมหลายเท่า

........ควบคู่ไปกับการปรับปรุงเทคโนโลยีการพิมพ์ดังกล่าว กำพล วัชรพล ได้ทดลองจัดองค์กรใหม่