โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ

 

ความเป็นมา

        โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติได้ดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย–ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และต่อเนื่อง ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อสนองนโยบายในระดับชั้นต่างๆ ดังนี้

        1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๖) ของมูลนิธิไทยรัฐ พันธกิจด้านส่งเสริมเอกลักษณ์โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ตามเป้าประสงค์เพื่อให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีคุณธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึก ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากร และพัฒนาสิ่งแวดล้อมสืบสานความเป็นไทยและความเป็นไทยรัฐวิทยา โดยมีกลยุทธ์สนับสนุนและพัฒนาครู–นักเรียน ให้สามารถใช้และผลิตสื่อมวลชนศึกษา        

        2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 24 กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ข้อ (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง        

        3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะ ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดี ต่ออาชีพสุจริต        

        4. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน มูลนิธิไทยรัฐ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เห็นความสำคัญของการอ่าน เนื่องจากงานวิจัยพบว่า ในปัจจุบันเยาวชนไทยอ่านหนังสือ ในชีวิตประจำวันมีน้อยมาก นอกจากจะไม่อ่านหนังสือแล้ว ยังแทบไม่ติดตามข่าวสารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่สื่อออนไลน์ นิยมใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ แต่เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อความบันเทิงมากกว่า และไม่เคยเปิดดูเว็บไซต์สำนักข่าวต่างๆ เลย เมื่อเยาวชนไม่อ่านหนังสือพิมพ์และติดตามข่าวสารบ้านเมือง จึงเป็นเรื่องยาก ที่จะสอนให้เข้าใจในวิชาการความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสารศาสตร์ การบ้าน การเมืองและสังคม หนังสือพิมพ์ประเภทต่างๆ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีราคาถูก หาอ่านได้ง่าย และมีเนื้อหา สาระครอบคลุมอย่างกว้างขวาง แม้เชื่อกันว่าอัตราการอ่านหนังสือพิมพ์ในอนาคตอาจลดลง เพราะอิทธิพลของสื่อออนไลน์ แต่หนังสือพิมพ์ยังคงเป็นสื่อหลักที่ให้ข้อมูลข่าวสาร เป็นประโยชน์ ต่อสังคมไปอีกนาน ผู้รับข่าวสารในสื่อออนไลน์ส่วนใหญ่ต้องการความรวดเร็ว ดังนั้นการรับรู้ ข่าวสาร จึงฉาบฉวย และไม่ลึกซึ้ง ขณะที่ผู้รับสารจากหนังสือพิมพ์ต้องการความละเอียดของข่าว จึงปลูกฝังให้เยาวชนรักการอ่าน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามหลักสูตรสื่อสารมวลชนศึกษา (Mass Media Study) ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย–ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และต่อเนื่องถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โครงสร้างหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา (Mass Media Study) มูลนิธิไทยรัฐ และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ได้กำหนดโครงสร้างหลักสูตร และสัดส่วน เวลา ดังนี้ ระดับปฐมวัย

- สอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ ด้านสติปัญญา

ระดับช่วงชั้นที่ 1–2 - จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ระดับช่วงชั้นที่ 3 - จัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2 ชั่วโมง /สัปดาห์

วิสัยทัศน์

        การสื่อสารมวลชนเป็นกลไกหนึ่งในองค์กรขับเคลื่อนทางสังคม ที่มีพลังสื่อสาร ให้คนทั้งประเทศเข้าถึงความจริง ความดี และความงาม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนอ่านรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของโลก รู้จริง รู้รอบ และรู้ตัวเสมอเมื่ออยู่ในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม การเรียนการสอนสื่อมวลชนศึกษา (Mass Media Study) มุ่งให้ผู้เรียนรักการอ่าน การเขียน ที่จะแสวงหาความรู้และประสบการณ์ข้อมูลข่าวสาร ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ในฐานะเป็น วัฒนธรรมทางภาษาให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชมซาบซึ้งและภูมิใจในภาษาไทย สื่อสารมวลชนเป็นสื่อของความคิด ผู้เรียนใช้ภาษาอย่างกว้างขวาง มีประมวลคำ ในการใช้พูด ฟัง อ่าน เขียนมาก ผู้เรียนจะคิดได้กว้างขวาง ลึกซึ้ง และสร้างเสริมความชาญฉลาด สามารถคิดสร้างสรรค์ คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดตัดสินใจแก้ปัญหาและวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล การอ่าน การฟัง และการดูจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นทักษะของการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารจากสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ละคร คอมพิวเตอร์ ตลอดจนการ์ตูน และสามารถแสดงทรรศนะข้อมูลข่าวสาร ด้วยการพูดและการเขียน การดู จึงเป็นการเรียนรู้ และการแสดงทรรศนะของตน และการดูนับวันจะมีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ผู้เรียนจะต้องประเมินสิ่งที่ดู และใช้การดูให้เป็นประโยชน์ในการหาความรู้จากสื่อสารมวลชน ซึ่งสื่อสารให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถเลือกใช้คำเรียบเรียง ความคิด ความรู้ให้ชัดเจน ใช้ภาษาได้ถูกต้องตามหลักภาษา ใช้ถ้อยคำตรงตามหลักภาษา ใช้ถ้อยคำตรงตามความหมาย ถูกต้องตามฐานะของบุคคลและสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ และนักเรียน มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการศึกษาหาความรู้สืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยเฉพาะเน้นการอ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็น ช่องทางการสื่อสารสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้หน้าที่ และบทบาทของหนังสือพิมพ์ สามารถจัดทำหนังสือพิมพ์ไว้ใช้อ่านประจำชั้นเรียน และเผยแพร่ สู่ชุมชนใกล้เคียงโรงเรียนได้

พันธกิจ

        1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อมวลชนศึกษา (Mass Media Study)

        2. จัดทำหลักสูตรสื่อมวลชนศึกษา(Mass Media Study) เพื่อเป็นแนวทาง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา

        3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สื่อมวลชนศึกษา (Mass Media Study) ตั้งแต่ระดับ ชั้นปฐมวัย–ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. เสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีของสังคมและชุมชน มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง มีทักษะการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานกับผู้อื่นได้ และจัดทำหนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณชนได้

เป้าหมาย

        คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จะต้องรู้จัก และเข้าใจตนเอง รวมถึงเข้าใจผู้อื่นด้วย เป็นคนตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร มีความสามัคคี สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีสัมมาคารวะ เป็นคนที่รู้จักกาลเทศะ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบ รู้จักประหยัด อดทน และไม่พัวพันสิ่งมอมเมา หรือสิ่งเสพติด

ผลของการดำเนินงาน มูลนิธิไทยรัฐ ได้มอบหมายให้โรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ ดำเนินการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา เมื่อสิ้นปีการศึกษา กลุ่มโรงเรียน ไทยรัฐวิทยา ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการภาพแห่งความสำเร็จ เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้นักเรียนสามารถนำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ ด้วยการจัดนิทรรศการในวันประชุมสัมมนา ผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ณ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ โดยนักเรียนได้นำเสนอข่าวสัมภาษณ์ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ฯลฯ ได้ดีในระดับหนึ่ง โดยมูลนิธิไทยรัฐ จะยังคงพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ ให้สามารถเผยแพร่สู่โรงเรียน ทุกสังกัด ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะดำเนินการ..

ในปี พ.ศ.​๒๕๕๕​ และ ๒๕๕๖  โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕​เฉลิมพระเกียรติได้รับรางวัลการจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนดีเด่น ๒ ปีซ้อน ในระดับภาคกลาง-ภาคตะวันออกจากมูลนิธิไทยรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนดีเด่น

พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best Pratice การจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนศึกษา ประจำปี ๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best Pratice การจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนศึกษา ประจำปี ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best Pratice การจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนศึกษา ประจำปี ๒๕๖๒

   **********************************************

ปีการศึกษา 2557

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2557

คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2557

ปีการศึกษา 2558

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2558

คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2558

ปีการศึกษา 2559

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2559

คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2559

ปีการศึกษา 2560

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2560 คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2560

ปีการศึกษา 2561

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2561

คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2561

ปีการศึกษา 2562

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2562

คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2562

ปีการศึกษา 2563

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ดูแลรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2563

คำสั่งแต่งตั้งคณะครูผู้สอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2563

การเผยแพร่ผลงานวิจัย 

บทคัดย่อ :  วิจัยการสอนคู่ขนานวิชาสื่อมวลชนศึกษา ปี 2562   DOC

การเผยแพร่ผลงานสื่อมวลชนศึกษา

วันที่ ๒๐  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงทอดพระเนตรการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสื่อมวลชนศึกษา ณ ห้องสื่อมวลชนศึกษา ชั้นอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ

   

ดร.กมล  รอดคล้าย  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเยี่ยมชมนิทรรศการสื่อมวลชนศึกษาของโรงเรียน

  

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พิษณุ  เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมการจัดนิทรรศการสื่อมวลชนศึกษาในงานสัมมนา       ผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

    

ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมและให้ข้อเสนอแนะในการทำหนังสือพิมพ์

    

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติได้รับรางวัลการจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนดีเด่น ๒ ปีซ้อนในปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖

นายถิรชัย  วุฒิธรรม ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาพร้อมคณะเยี่ยมชมการจัดนิทรรศการสื่อมวลชนศึกษาของโรงเรียน

    

การเผยแพร่นิทรรศการสื่อมวลชนศึกษา ณ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 

    

การจัดรายการวิทยุดีเจเสียงใส ใส่ใจสาระ และเสียงตามสายในช่วงเช้า เวลา 07.10-07.45 น. ทุกวัน จันทร์ - ศุกร์

     

  

การถ่ายทอดสดรายการของโรงเรียนทุกวันจันทร์ - ศุกร์