ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ เริ่มต้นจากการที่นายกำพล วัชรพล ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐแสดงความประสงค์ที่จะมอบที่ดินของบริษัท วัชรพล จำกัด ซึ่งตั้งอยู่แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน จำนวน ๗ ไร่ ๓ งาน ๘๑ ตารางวา พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๒/๒๘ จำนวน ๑หลัง ให้แก่สำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา มีนักเรียน ๔๓ คน ครู ๓ คน
พ.ศ.๒๕๓๖ เปิดขยายชั้นเรียนเพิ่มจาก ๒ ห้องเรียน เป็น ๗ ห้องเรียน (ขยายชั้นป.๒ – ป.๔) มีนักเรียน ๑๗๐ คน ครู ๑๒ คน มีการจัดตั้ง คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมบริหารโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๗ เปิดขยายชั้นเรียนเพิ่มจาก ๗ ห้องเรียน เป็น ๙ ห้องเรียน (ขยายชั้นป.๕ – ป.๖) มีนักเรียน ๒๑๙ คน ครู ๑๕ คน จัดสร้างพระพุทธรูป ปางประทานพรด้วยเงินบริจาค (คุณประกฤต เรืองสุข)
พ.ศ.๒๕๓๘ – ๒๕๔๑ เปิดทำการสอนชั้นอนุบาล ๓ ขวบ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๔๖๕ คนครู ๒๔ คน ปีงบประมาณ ๒๕๔๑ ได้รับเงิน สนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ๑ หลัง ๔ ชั้น ๑๕ ห้องเรียน เป็นเงิน ๑๑,๖๑๖,๐๐๐ บาท
ปีการศึกษา ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนทุกระดับชั้น และพัฒนาบุคลากร ใช้การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน
พ.ศ. ๒๕๔๗ เปิดทำการสอนชั้นอนุบาล ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๕๑๔ คน ครู ๑๘ คน และโรงเรียนได้รับการคัดเลือก เข้าโครงการ หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน เพราะมีการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ชุมชนมีความพึงพอใจ และเชื่อมั่นในศักยภาพของโรงเรียน และพัฒนาตามประเด็นหลัก ด้านการบริหารการจัดการ และการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ ICT การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากร สภาพแวดล้อม โรงเรียนเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพของนักเรียน และมีภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เข้มแข็ง ผ่านการประเมินเป็น โรงเรียนต้นแบบในฝัน เป็นแห่งแรกในประเทศไทยในระดับประถมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘ เปิดทำการสอนชั้นอนุบาล ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๕๐๒ คน ครู ๒๐ คน และโรงเรียน ผ่านการประเมิน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ดีเด่น ภาคกลาง – ภาคตะวันออก
พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทาน โดยโรงเรียนพัฒนาการเรียนการสอนประสบความสำเร็จเชิงประจักษ์ ด้านคุณภาพนักเรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ โดยครูพัฒนาหลักสูตรและงานวิชาการ จัดกระบวนการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการบริหารการจัดการที่ดี มีภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาโรงเรียนอย่างเข้มแข็ง
พ.ศ.๒๕๔๙ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นโรงเรียนจัดการเรียนการสอนในโครงการ “เงินทองของมีค่า” เพื่อพัฒนา ผู้เรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกฝังนิสัยให้รู้จักความมีเหตุผล พอประมาณ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
พ.ศ.๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นโรงเรียนทดลองการจัดกิจกรรมทักษะกระบวนการคิด
พ.ศ. ๒๕๕๕ โรงเรียนได้รับงบประมาณจากมูลนิธิไทยรัฐ จำนวน ๒๕ ล้านบาท ในการปรับปรุงห้องปฏิบัติการ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ
- ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเสด็จเปิดโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ
- ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติได้รับรางวัลการจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนศึกษาดีเด่น จากมูลนิธิไทยรัฐในงานกำพล วัชรพล
พ.ศ. ๒๕๕๖ โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
- เข้าร่วมโครงการต้นแบบโรงเรียนไทยรัฐวิทยา โดยมี ๕ โรงเรียนจาก ๑๐๑ โรง ทั้่วประเทศ
- ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติได้รับรางวัลการจัดการเรียนการสอนสื่อมวลชนศึกษาดีเด่น จากมูลนิธิไทยรัฐในงานกำพล วัชรพล
- ได้รับโล่รางวัลสถานศึกษาปลอดยาเสพติด ประจำปี ๒๕๕๖ จากสำนักงานปราบปรามยาเสพติด
- ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ คุณครูชุติมา ทิพวาที ได้รับรางวัลครูไทยรัฐวิทยาดีเด่น ภาคกลาง-ภาคตะวันออก จาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในงานวัน กำพล วัชรพล
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ คุณครูวราศิณี บุญเพ็ง ได้รับรางวัลครูไทยรัฐวิทยาดีเด่น ภาคกลาง-ภาคตะวันออก จาก พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุบรรณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในงานวัน กำพล วัชรพล
ปัจจุบันมีพื้นที่จำนวน ๑๙ ไร่ ๗ งาน ๑๒ ตารางวา โดยได้รับการบริจาคที่ดินจากบริษัท วัชรพล จำกัด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทำเนียบผู้บริหาร
ชื่อ
|
ตำแหน่ง
|
ปีพุทธศักราช
|
๑. นายเสริมศักดิ์ คำแย้ม
|
ผู้อำนวยการโรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) รักษาการครูใหญ่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ |
พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ |
๒. นางสาวสุภา ปัญญาลิขิตกุล
|
ครูใหญ่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕
|
พ.ศ. ๒๕๓๕
|
๓. นายไพบูลย์ วงศ์ยะรา
|
ผู้อำนวยการโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ รักษาการครูใหญ่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕
|
พ.ศ. ๒๕๓๕
|
๔. นายชัยรัตน์ เทพจุฬาลักษณ
|
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕
|
พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๔๔
|
๕. นางราตรี ศรีไพรวรรณ
|
ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ
|
พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๕๒
|
๖. นายสมบูรณ์ เสาวคนธ์ |
ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ
|
พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙
|
๗. ดร.ปรพล แก้วชาติ | ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕ เฉลิมพระเกียรติ | พ.ศ. ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน |